ระบบฐานข้อมูล http://computer5access.siam2web.com/

 

เว็บเพจ (Web Page) คืออะไร ?

เว็บเพจ คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบสื่อประสม เช่น ข้อความ,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,เสียง เป็นต้น โดยการนำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

ประโยชน์ของเว็บเพจ

ปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่เรามักได้ยินคำว่ายุค IT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาระบบสื่อสารทำให้ สารสนเทศ ต่าง ๆ ส่งผ่านถึงกันได้สะดวกขึ้น มีการนำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและ การสื่อสาร  Information and Communication Technology  (ICT )   เข้ามาใช้ในชีวิต ประจำวันมากขึ้น เว็บเพจ สามารถเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น 

        1.ข้อมูลทางการศึกษา เช่น ความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ 
        2.ประชาสัมพันธ์บริษัทและองค์กรต่างๆ
        3.ความบันเทิง
        4.ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน
        5.การซื้อ-ขายสินค้า และบริการต่า
        6.การดาวน์โหลดข้อมูล
        7.บริการติดต่อสื่อสาร เช่น การรับส่ง

E-mail 
        8.บริการอื่น ๆ

 

 

 



ตัวอย่างเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ google

 

 





ตัวอย่างเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ sanook

 



เว็บไซต์ (Web Site)

โฮมเพจ (Home Page)  

เว็บเพจ (Web Page)

คือ กลุ่มของเว็บเพจหลาย ๆ หน้า โดยมี
โฮมเพจเป็นเว็บเพจหน้าแรก  ที่มีความ
สวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้า
ชมเว็บไซต์ และเว็บไซต์หมายถึง แหล่ง
ข่าวสาร  ข้อมูลของบุคคล  องค์กร  หรือ
หน่วยงานต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต

คือ  เว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์   จะมี 
ความสวยงามเป็นพิเศษ เพื่อดึงดูดความ 
สนใจ  ของผู้เข้าชมเว็บไซต์    และมีจุด 
เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าต่าง ๆ

คือ หน้าเอกสารต่าง ๆ  ที่ใช้เผยแพร่
ข้อมูล ข่าวสาร ของบุคคล องค์กร หรือ หน่วยงานต่าง ๆ 




ถ้าหากจะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเว็บไซต์ โฮมเพจ และเว็บเพจ กับหนังสือหนึ่งเล่ม เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ สามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้


เว็บไซต์ (Web Site)

โฮมเพจ (Home Page)  

เว็บเพจ (Web Page)

เปรียบเทียบได้กับ

เปรียบเทียบได้กับ

เปรียบเทียบได้กับ

หนังสือหนึ่งเล่ม

หน้าปกหนังสือ

หน้าต่าง ๆ ในหนังสือ

หนังสือหนึ่งเล่มเป็นแหล่งข้อมูล
ความรู้เรื่องต่าง ๆ ของบุคคล องค์กร
หรือ หน่วยงานต่าง ๆ 


หน้าปกของหนังสือ มีการออกแบบ
สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของ
ผู้อ่านและ มีหัวข้อสำคัญที่อยู่ภายใน
หนังสือ เพื่อแจงให้ผู้อ่านทราบหัวข้อ
สำคัญต่าง ๆ คล้ายกับจุดเชื่อมโยง
ในเว็บเพจนั้นเอง 

หน้าต่าง ๆ ของหนังสือภายในเล่ม แยกออกเป็นบท ๆ เพื่อนำเสนอ
ข้อมูล หรือเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดย
ประกอบไปด้วยข้อความ รูปภาพ 
ตารางข้อมูล เป็นต้น 


ภาพแสดงความสัมพันธ์ของ เว็บไซต์ โฮมเพจ และเว็บเพจ

 

 

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจที่ควรทราบ 


เซิร์ฟเวอร์ (server) และ ไคลเอนต์ (Client)

          การติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าด้วยกันทั่วโลกนั้น จะมีการติดต่อสื่อสาร 2 แบบ คือ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูล เรียกว่า เครื่องให้บริการ (Server) หรือบางทีอาจเรียกว่า "เครื่องแม่ข่าย" ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลหรือ เรียกขอข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายไปใช้งานจะเรียกว่า เครื่องรับบริการ (Client) หรือบางทีอาจเรียกว่า "เครื่องลูกข่าย"

เครือข่ายใยแมงมุม WWW (World Wide Web)

          เป็นบริการรูปแบบหนึ่งในระบบอินเทอร์เน็ต ที่เราทุกคนคุ้นเคยและใช้บริการนี้กันอยู่ทุกวันในการใช้งานระบบ อินเทอร์เน็ตที่เราเรียกสั้นว่า "เว็บ" นั่นเอง โดยการสร้างเอกสารในอินเทอร์เน็ต จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าเอกสารทั่วไป ตรงที่สามารถใส่จุดเชื่อมโยง  (Links)  ไปยังเอกสารอื่น ๆ ได้มากมาย โดยเอกสาร หลายมิติที่กล่าวนี้จะถูกเรียกว่า Hypertext หรือเอกสาร html นั่นเอง เอกสารเหล่านี้จะถูกแสดงด้วยโปรแกรมเฉพาะที่เรียกว่า  เว็บเบราว์เซอร์ (Web Broswer) โดยข้อความในเอกสารนั้นสามารถเชื่อมโยงไปเปิดเอกสารอื่นขึ้นมาได้อีก การที่เอกสารสามารถเชื่อมโยงกันได้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเอกสาร ในอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก   โยงกันไปมาจนดูราวกับเป็นใยแมงมุม  จึงทำให้ระบบนี้ ถูกเรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมทั่วโลก (World  Wide  Web) หรือ WWW  หรือที่นิยมเรียกันย่อ ๆ ว่า เว็บ (Web) นั่นเอง

ไอพีแอดเดรส (IP Address)

            คือ ที่อยู่ของเว็บไซต์ โดยระบุเป็นตัวเลขเป็นชุด ๆ โดยมีจุดคั่นแต่ละชุด เช่น 192.168.1.1 แต่ละเว็บไซต์จะมีที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เป็นชุดตัวเลข เว็บไซต์ละ 1 ชุดโดยไม่ซ้ำกัน คล้ายกับบ้านเลขที่นั่นเอง 

โดนเมนเนม (Domain Name)

            คือ ที่อยู่ของเว็บไซต์ แต่เป็นการนำตัวอักษรมาแทนตัวเลข เช่น www.moe.go.th เพื่อให้จดจำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้น เป็็นชุดตัวเลข ที่มีความยาวทำให้ยากต่อการจดจำ จึงได้มีการใช้ โดเมนเนม (Domain Name) แทน โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน มักจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อบุคคล  องค์กร   หรือหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ เพื่อสะดวกในการจดจำชื่อ  ตัวอย่าง เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัย abc มีไอพีแอดเดรส เป็น 206.217.189.19 เพื่อให้จดจำชื่อเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นและสะดวกต่อการเข้าใช้งานเว็บไซต์สามารถเปลี่ยนเป็นโดเมนเนมคือ www.abc.ac.th แทน เป็นต้น


ประเภทของโดเมนเนม

             โดเมนเนมเป็นชื่อของเว็บไซต์แบ่งโดเมนเนมตามลักษะของชื่อออกเป็น 2 ประเภท คือ โดเมนเนม 2 ระดับ และโดเมนเนม 3 ระดับ

 

โดเมนเนม 2 ระดับ

เช่น www.sanook.com หรือ www.hunsa.com 

www คือประเภทการให้บริการแบบ World Wide Web
ส่วนที่ 1 sanook หรือ hunsa เป็นชื่อ หรืออักษรย่อของบริษัท หรือหน่วยงานเจ้าของเว็บไซต์
ส่วนที่ 2 .com เป็นอักษรย่อของประเภทองค์กร ซึ่งที่พบบ่อยมีดังนี้

.com เป็นบริษัทหรือองค์กรพาณิชย์ เช่นบริษัทโซนี่ (www.sony.com) 
.edu เป็นสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (www.harvard.edu) 
.gov เป็นองค์กรของรัฐบาล เช่น องค์การนาซ่า (www.nasa.gov)
.mil เป็นองค์กรทางทหาร เช่น กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (www.af.mil)
.net เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต(www.mci.net) 
.org เป็นองค์กรที่ไม่เข้าข่ายองค์กรทั้งหมดที่ได้กล่าวถึง
.biz เป็นบริษัทหรือองค์กรทางธุรกิจ
.info ใช้ในโอกาสโฆษณาสินค้า หรือเหตุการณ์สำคัญ

โดเมนเนม 3 ระดับ

ช่น www.su.ac.th , www.moe.go.th หรือ www.school.net.th

www คือประเภทการให้บริการแบบ World Wide Web
ส่วนที่ 1 su,moe,school เป็นชื่อหรือชื่อย่อขององค์กรต่าง ๆ เช่น su คือชื่อย่อของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ส่วนที่ 2 .ac , .go , .net คำย่อในส่วนที่ 2 หลังเครื่องหมายจุด เป็นประเภทขององค์กร
ส่วนที่ 3 .th คำย่อในส่วนที่ 3 หลังเครื่องหมายจุด เป็นที่ตั้งขององค์กรนั่น

ตัวย่อส่วนที่ 2 ที่พบบ่อยคือ.co หมายถึง บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์         
.ac หมายถึง สถาบันการศึกษา 
.go หมายถึง องค์กรของรัฐบาล                                                             
.or หมายถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 
.net หมายถึง องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย

ตัวย่อส่วนที่ 3 คืออักษรย่อของประเทศต่าง ๆ ที่องค์กรนั้นตั้งอยู่ เช่น
.th หมายถึง ประเทศไทย 
.cn หมายถึง ประเทศจีน 
.jp หมายถึง ประเทศญี่ปุ่น 
.au หมายถึง ประเทศออสเตรเลีย
 

 

 

ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ URL (Uniform Resource Locator)

 

 

URL คือตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีส่วนประกอบดังภาพด้านบน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

     Content identifier  คือ  ส่วนที่แจ้งให้เบราว์เซอร์ทราบว่าต้องจัดการข้อมูลที่พบอย่างไร สำหรับบริการ WWW จะใช้ โปรโตรคอลมาตรฐานชื่อ HTTP (HyperText Transfer Protocol) ส่วน FTP เป็นอีกโปรโตคอลเกี่ยวกับ การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล

     Host name      คือ ส่วนที่ระบุชื่อเว็บไซต์ ส่วนใหญ่มักถูกเรียกว่าโดเมนเนม แต่ละเว็บไซต์จะมีโดเมนเนมไม่ซ้ำกัน ส่วนระบุตำแหน่ง คือ ระบุที่เก็บเว็บไซต์ในเครื่อง

     ชื่อไฟล์ข้อมูล คือ ส่วนสุดท้ายของ URL จะเป็นชื่อไฟล์ข้อมูลเว็บเพจที่เราสร้างขึ้น มักมีนามสกุลเป็น .html หรือ .htm หากไม่ระบุส่วนนี้ เี้่บราว์เซอร์จะถือว่า ไฟล์ที่ต้องการเรียกดูคือ  index.html   ซึ่งส่วนใหญ่ชื่อนี้จะตั้งให้กับ หน้าโฮมเพจเสมอ

 

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 16,150 Today: 3 PageView/Month: 17

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...